การคงค้างของฟันน้ำนมในลูกสุนัข (Persistent Deciduous Teeth)
โดยธรรมชาติแล้วการงอกของฟันน้ำนมในลูกสุนัขจะเริ่มงอกตั้งแต่อายุ 3-4 สัปดาห์ และจะเริ่มหลุดไปพร้อมกับการงอกของฟันแท้ ที่อายุ 3-7 เดือน ซึ่งในชุดของฟันแท้ สุนัขที่มีการงอกของฟันแท้ครบจะมีฟันทั้งหมด 42 ซี่ ในบางครั้งเราจะพบว่ามีลูกสุนัขบางตัวพบฟันซ้อนกันหลายซี่ โดยจะพบมากที่ฟันเขี้ยวน้ำนมขึ้นซ้อนกับฟันเขี้ยวแท้ การเกิดฟันซ้อนมักจะเป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะเหงือกอักเสบ ช่องปากอักเสบ โคนลิ้นและต่อมน้ำลายอักเสบ ทานอาหารลำบาก เลือดออกตามขอบเหงือกหรือเวลาแทะของแข็งๆ และมีหินปูนมาเกาะตรงบริเวณฟันซ้อนได้ง่ายเนื่องจากเศษอาหารมักจะมาสะสมตรงบริเวณนี้เยอะ รวมถึงเป็นสาเหตุทำให้การงอกของฟันแท้ผิดแนวการงอกปกติ ซึ่งจะทำให้เกิดความผิดปกติของการสบกันของฟันด้วย (malocclusion) โดยมากเรามักจะพบภาวะการงอกซ้อนของฟันน้ำนมกับฟันแท้ในสุนัขสายพันธุ์เล็ก เช่น ปอมเมอเรเนี่ยน, ยอร์คชาย เทอร์เรีย, พูดเดิ้ล และ ดัชชุน
วิธีการแก้ไข คือการถอนฟันน้ำนม และมีการเอ็กซเรย์ฟันทั้งปาก เพื่อดูว่าฟันแท้ที่ยังไม่งอกมีการเกิดฟันคุดหรือไม่ เพราะถ้าไม่มีการเอ็กซเรย์ฟันทั้งปากจะทำให้ไม่สามารถวินิจฉัยการไม่งอกของฟัน หรือการเกิดฝีใต้รากฟันได้ จะทำให้มีโอกาสเกิดปัญหาขึ้นได้อีกในอนาคต
โรงพยาบาลสัตว์ สัตวแพทย์ 4
Vet 4 Animal Hospital
Tel : 02-953-8085
Line : http://line.me/ti/p/~@vet4
Website : www.vet4hospital.com
Map : https://goo.gl/maps/h5xR4waakFD2