เจ้าแมวเหมียวกับโรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน หรือ Diabetes Mellitus คือความผิดปกติของกระบวนการใช้น้ำตาลของร่างกาย โดยปกติแล้วน้ำตาลในกระแสเลือดจะถูกลำเลียงไปใช้ในเซลล์ โดยใช้ ฮอร์โมนอินซูลิน ซึ่งถูกผลิตจากกลุ่มเซลล์กลุ่มหนึ่งของตับอ่อน เมื่อเกิดความผิดปกติหรือความเสียหายของตับอ่อน มักส่งผลให้การสร้างอินซูลินมีปัญหาได้ หรือเซลล์ต่างๆ ของร่างกายไม่สามารถตอบสนองต่ออินซูลินได้อย่างที่ควรจะเป็น ระดับน้ำตาลในเลือดจึงสูงกว่าปกติเนื่องจากไม่มีตัวพาเอาน้ำตาลเข้าสู่เซลล์ เซลล์ในร่างกายขาดพลังงานหลัก ร่างกายจึงต้องสลายพลังงานสะสมในรูปแบบอื่น ได้แก่ โปรตีนและไขมัน มาเป็นพลังงานทดแทน 


                                           


สาเหตุการเกิดโรค

โรคเบาหวานสามารถแบ่งออกได้เป็น ประเภท คือ

    - เกิดจากการขาดอินซูลินที่สร้างมาจากตับอ่อน  อาจเกิดจากความเสียหายหรือการบาดเจ็บของกลุ่มเซลล์บริเวณตับอ่อน ทำให้การสร้างอินซูลินผิดปกติไป ซึ่งโรคเบาหวานชนิดนี้มักตอบสนองต่อการให้ อินซูลิน

    - เกิดจากกลุ่มเซลล์ของตับอ่อนสามารถสร้างอินซูลินได้ปกติ แต่มีความผิดปกติที่ตัวรับ ทำให้ไม่สามารถตอบสนองต่ออินซูลินได้ ส่งผลให้มีน้ำตาลในกระแสเลือดสูง เซลล์ไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้เป็นพลังงานได้ ซึ่งโรคเบาหวานชนิดนี้มักไม่ตอบสนองต่อการให้อินซูลิน

    

อาการ

    ร่างกายมีระดับน้ำตาลสูงกว่าปกติ อาการหลักๆที่เจ้าของสามารถสังเกตได้จากลักษณะภายนอกของแมวได้แก่ กินน้ำเยอะ, ปัสสาวะเยอะกินอาหารเก่งน้ำหนักลดร่างกายขาดน้ำ นอกจากนั้น อาจพบว่าแมวมีอาการซึม พบน้ำตาลในปัสสาวะซึ่งอาจเห็นมดตอมปัสสาวะเจ้าเหมียวได้ ซึ่งหากปล่อยไว้ไม่ทำการรักษาอาจมีการพัฒนาของโรคไปสู่ภาวะเบาหวานเป็นพิษได้


การรักษา-วิธีรักษา

    เมื่อสัตวแพทย์ทำการตรวจร่างกาย และทำการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดภายหลังการอดอาหาร หากพบระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติอาจจะสงสัยว่าแมวเป็นโรคเบาหวานได้ แต่ในแมวบางตัวที่มีสภาวะเครียด อาจทำให้ตรวจพบระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นได้เช่นกัน หรือ อาจทำการตรวจสาร fructosamine ในกระแสเลือด หรือตรวจระดับน้ำตาลในปัสสาวะ (เนื่องจากระดับน้ำตาลในกระแสเลือดที่สูงกว่าปกติ จะส่งผลให้ตรวจพบน้ำตาลในปัสสาวะได้)


    การวางแผนการรักษาจะแตกต่างกันขึ้นกับความรุนแรงของอาการป่วย ซึ่งจะทำการทดสอบระดับน้ำตาลหลังให้อินซูลินทดแทน เพื่อประเมินหาระดับอินซูลินที่ต้องการและเพียงพอในการควบคุมน้ำตาลระหว่างวัน  โดยปัจจัยในการดูแลแมวที่เป็นเบาหวานมีดังต่อไปนี้

            1. ควบคุมชนิด ปริมาณ และเวลาในการให้อาหารแมว เพื่อควบคุมปริมาณแคลลอรี่ในแต่ละวันให้ใกล้เคียงกัน

            2. ปริมาณและชนิดของอินซูลินที่ให้

    ปัจจัยต่างๆควรมีความสอดคล้องกันหากปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งเปลี่ยนแปลงไปอาจส่งผลต่อความสามารถในการควบคุมระดับน้ำตาลได้ดังนั้นเมื่อตรวจพบว่าแมวเป็นโรคเบาหวานแล้ว เจ้าของควรเฝ้าสังเกตอาการอย่างสม่ำเสมอ ไปพบสัตวแพทย์ตามนัดหมาย ทำการตรวจติดตามระดับน้ำตาล เพื่อทำการปรับปริมาณของอินซูลินและอาหารให้เหมาะสมเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของเจ้าเหมียว


สพ.ญ.ณัฐชยา อนันตะ (หมอเอ๊ะ) 

โรงพยาบาลสัตว์ สัตวแพทย์ 4 (24 ชั่วโมง)
Tel : 02-953-8085

ย้อนกลับ