โรคต่อมไทรอยด์ในแมว ( Feline Hyperthyroidism )

        โรคของต่อมไทรอยด์ในแมว มักเกิดจากการที่ต่อมทำงานมากเกินไป ทำให้หลั่งไทรอยด์ฮอร์โมนออกมามากกว่าปกติ

        โรคที่พบบ่อยที่สุดโรคหนึ่งในระบบต่อมไร้ท่อในแมว โดยเฉพาะแมวแก่ ที่มีอายุตั้งแต่ 4-22 ปี   เกณฑ์เฉลี่ยพบบ่อยในแมวที่มีอายุ 13 ปี 


                          


    สาเหคุการเกิดโรคไม่ทราบสาเหตุที่แน่นอน โรคนี้มักพบมีการเกิดโรคเกี่ยวพันกับหลายระบบในร่างกาย

        · ระบบกล้ามเนื้อ มีอาการอ่อนเพลีย กล้ามเนื้อไม่มีแรง

        · ระบบการไหลเวียนของเลือดที่หัวใจ หัวใจมีขนาดโตกว่าปกติ  จังหวะการเต้นของหัวใจผิดปกติ หัวใจเต้นเร็ว หากไม่ได้รับการแก้ไข

          จะเกิดภาวะความดันโลหิตสูง ตามมาในภายหลัง

        · ระบบทางเดินอาหาร  มักพบอาการเรื้อรัง เช่น อาเจียน อาจเนื่องมาจากการทานอาหารมากเกินไป  หรือท้องเสีย เพราะมีการดูดซึมใน

          ทางเดินอาหารที่ผิดปกติ

        · ระบบขับถ่ายปัสสาวะ  มักพบในรายไตวายเรื้อรัง

        · ระบบประสาท มักมีอาการตื่นเต้นง่าย กระวนกระวายผิดปกติ

  

     อาการเบื้องต้นที่เจ้าของจะสังเกตุพบ ได้แก่

1. น้ำหนักตัวลดลง  

2. ทานอาหารเก่ง

3. กินน้ำเก่ง ปัสสาวะบ่อย 

4. อาการทางระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ อาเจียน ท้องเสีย

5. พฤติกรรมเปลี่ยน  บางตัวมีเสียงเปลี่ยน 

6. การอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ

7. บางรายอาจมีความผิดปกติของขน และเล็บ

 

การตรวจเบื้องต้น โดยสัตวแพทย์ การคลำที่บริเวณคอร่วมกับการตรวจเลือดเพื่อหาค่าไทรอยด์ฮฮร์โมนเป็นสิ่งจำเป็นที่ควรทำ โดยเฉพาะแมวที่มีอายุเกินกว่า ปีขึ้นไป

แต่การขยายใหญ่ในบริเวณคอดังกล่าวอาจไม่ใช่เป็นโรค hyperthyroid เสมอไป เพราะอาจเป็นก้อนเนื้อชนิดอื่น หรือการคลำไม่พบ ไม่สามารถยืนยันได้ว่าแมวนั้นไม่เป็น hyperthyroid เนื่องจากอาจมีการขยายใหญ่ของต่อมไทรอยด์ในส่วนช่องอกที่มือไม่สามารถคลำถึง


                         


จะเห็นได้ว่า อาการที่ตรวจพบส่วนใหญ่แมวที่ป่วยมักมีอาการของโรคในระบบอื่นร่วมด้วย เช่น โรคไตเรื้อรัง โรคหัวใจเรื้อรัง โรคตับ หรือเนื้องอก จึงมีความจำเป็นที่จะต้องหาสาเหตุการเกิดโรคโดยอาศัยผลทางห้องปฎิบัติการประกอบการวินิจฉัย


    การตรวจวินิจฉัย

1. การตรวจด้วยรังสีวินิจฉัย

โดยการฉายรังสีเอกเรย์ช่องอก มักพบว่าหัวใจมีขนาดโตกว่าปกติ มีน้ำในช่องอก ปอดบวมน้ำ 

                 

รูปภาพแสดงภาวะหัวใจห้องบนทั้งสองข้างโต ภาพนอนคว่ำพบภาพเงาหัวใจมีลักษณะคล้ายรูปหัวใจ

 

2. ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ  มักพบหัวใจเต้นเร็ว และ อาจเต้นไม่เป็นจังหวะ

             

            รูปภาพแสดงลักษณะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่เรียกว่า Atrial fibrillation 


3. Echocardiography มีส่วนช่วยในการวินิจฉัยความรุนแรงการเกิดโรคหัวใจ ในรายผนังหัวใจหนากว่าปกติ

             

   รูปแสดงลักษณะหัวใจห้องซ้ายหนาตัว (concentric hypertrophy of LV)


4. Abdominal ultrasound มีส่วนช่วยในการวินิจฉัยว่ามีความผิดปกติของไตร่วมด้วย

 

        การรักษา

        วัตถุประสงค์ในการรักษาเพื่อควบคุมการหลั่งของ thyroid hormone ไม่ให้ออกมามากกว่าปกติ

            การรักษาสามารถทำได้ ทาง ดังนี้

            1. การรักษาทางยา ( medical therapy)

            2. การรักษาโดยการผ่าตัด ( Surgical thyroidectomy)

            3. การรักษาโดยรังสี I 131( irradiation of gland )


การที่จะเลือกใช้วิธีใดวิธหนึ่ง ควรมีการเลือกพิจารณาถึงผลดีและผลเสียที่เกิดขึ้นภายหลัง

  1. การรักษาทางยา (Medications)

      การรักษาทางยามักใช้เป็นวิธีแรกในการปรับสภาพสัตว์ก่อนการผ่าตัดหรือการควบคุมในระยะยาวในรายที่เจ้าของไม่ต้องการผ่าตัดหรือใช้รังสี

      การรักษาทางยาไม่อาจทำลายเซลที่ผิดปกติในการทำงานของต่อมไทรอยด์ ทำให้แมวแสดงอาการขึ้นใหม่เมื่อหยุดยา

ข้อดีของการกินยา นอกจากหลีกเลี่ยงผลข้างเคียงของการเกิดภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำกว่าปกติ

  2. การผ่าตัด ในรายที่มีปัญหาหัวใจ หรือไต จะมีความเสี่ยงสูงขึ้นในการดมยาสลบ

  3. Radioactive Iodine I 131 therapy เป็นวิธีที่ปลอดภัยและได้รับการยอมรับว่าได้ผลดีที่สุดในการรักษาโรคนี้  เพราะมีผลข้างเคียงน้อยที่สุด  

      แต่มีโรงพยาบาลสัตว์ไม่กี่แห่งที่มีใช้  และมีราคาสูง


                  


    


การพยากรณ์โรค

      พบว่าหากสามารถทำการรักษาได้ตามที่กล่าวมาข้างต้น สามารถพยากรณ์โรคได้ว่าค่อนข้างดี ทั้งนี้การเกิดการขยายตัวของต่อมไทรอยด์ต้องไม่เกิดการกลายสภาพเป็นเนื้อร้าย 


บทความโดย

น.สพ.พีรสุทธิ์ เพียรพิจิตร (หมอเอด)

คลินิกโรคหัวใจและระบบทางเดินหายใจ

โรงพยาบาลสัตว์ สัตวแพทย์ 4 (VET4)
Tel : 02-953-8085-6
Line : http://line.me/ti/p/~@vet4
Website : www.vet4hospital.com
Map : https://goo.gl/maps/h5xR4waakFD2

ย้อนกลับ