โรคไข้หัดแมว (Feline Distemper)

โรคไข้หัดแมว (Feline Distemper) โรคนี้มีชื่อพ้องหลายชื่อ เช่น โรคลําไส้อักเสบติดต่อในแมว (feline infectious enteritis) โรคติดเชื้อ ไวรัสพาร์โวในแมว (feline parVovirus) และโรคเม็ดเลือดขาวทุกชนิดต่ําในแมว (feline panleukopenia)

    

สาเหตุ

เกิดจากเชื้อ feline parvovirus ซึ่งเป็นไวรัสที่มีดีเอ็นเอสายเดี่ยว มีความคงทนในสิ่งแวดล้อมที่ อุณหภูมิห้องได้นานถึง 1 ปี แต่ถูกทําลายได้ด้วยน้ำยาฟอกขาวที่มีความเข้มข้น 6% หรือน้ำยาฟอร์มาลดีไฮด์ที่ มีความเข้มข้น 4% และกลูตัลดีไฮด์ที่มีความเข้มข้น 1% ทิ้งไว้ 10 นาทีที่อุณหภูมิห้อง




อาการ

แมวโตมักจะไม่แสดงอาการ ลูกแมวที่ไม่เคยได้รับวัคซีนจะแสดงอาการป่วย ซึ่งอายุที่มีอัตราการป่วย และการตายสูงคือ 3-5 เดือน อาจพบการตายเฉียบพลันในแมวอายุ 4 สัปดาห์ ถึง 1 ปี การป่วยฉับพลัน อาการที่พบ เริ่มจากมีไข้ ซึม เบื่ออาหาร 34 วัน ตามด้วยอาเจียนเป็นน้ําสีเหลือง มีภาวะ ขาดน้ํา มีอาการท้องเสีย ในบางรายอาจพบว่าสัตว์มีท้องเสียเป็นเลือด อาจพบแผลหลุมในปาก เมื่ออาการ รุนแรงมากช่วงสุดท้ายแมวจะมีอุณหภูมิต่ํากว่าปกติ แม่แมวที่ติดเชื้อหรือได้รับเชื้อจากวัคซีนความสมบูรณ์ พันธุ์จะเสียไป มีการแท้ง แมวอาจมีอาการสั่นหรือชัก


การวินิจฉัย

1.การสังเกตอาการร่วมกับการตรวจค่าเลือด โดยค่าเลือดส่วนใหญ่ในแมวที่มีการติดเชื้อมักพบว่าสัตว์ จะมีภาวะเม็ดเลือดขาวต่ํา โดยความรุนแรงของโรคจะสัมพันธ์กับการลดลงของเม็ดเลือดขาว

2.การตรวจทางเซรุ่มวิทยา(serology) เป็นการตรวจโดยใช้ขุดตรวจแอนติเจน โดยใช้ชุดตรวจแอนติเจนที่ใช้สําหรับตรวจเชื้อไวรัสพาร์โวในสุนัข

3.การตรวจPCR


การรักษา

ทําการรักษาแบบประคับประตามอาการสัตว์ (supportive treatment) เช่นในกรณีที่สัตว์มีอาการ อาเจียน ก็ควรให้สัตว์งดน้ําและอาหารในช่วงแรกร่วมกับการได้รับยาต้านอาเจียน หากสัตว์มีภาวะท้องเสียก็ ควรได้รับสารน้ํานอกจากนี้ยังมีให้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องการติดเชื้อแทรกซ้อน และอาจมีการให้วิตามินบีรวม เนื่องจากแมวป่วยมักมีภาวะเบื่ออาหารจึงขาดวิตามินจําพวกนี้ โดยหากสัตว์ตอบสนองต่อการรักษามักพบว่า ค่าเม็ดเลือดขาวที่ต่ําควรจะสูงขึ้นภายใน 24-48ชั่วโมง


การแพร่ระบาด

แมวมักสัมผัสเชื้อตั้งแต่ช่วงแรกเกิด ลูกแมวที่ไม่ได้รับวัคซีนมาก่อนยังคงมีภูมิจากแม่ที่มีประวัติการทํา วัคซีนจนอายุได้ 3 เดือน บางตัวอยู่นานถึง 5 เดือน แมวที่ติดเชื้อส่วนมากจะไม่แสดงอาการ แมวที่ติดเชื้อไวรัสชนิดนี้จะมีการขับเชื้อออกมาในระยะเวลาสั้นๆ เพียง 1-2 วัน แต่เชื้อมีความทนในสิ่งแว ดล้อมได้นานเป็นปี แมวบางตัวสามารถขับเชื้อออกมากับปัสสาวะและอุจจาระได้นานถึง 6 สัปดาห์หลังหาย จากโรค หากมีแมวป่วยตายในบ้านไม่ควรนําลูกแมวที่ไม่ได้รับวัคซีนมาเลี้ยง และต้องกําจัดเชื้อให้หมดไปจาก สิ่งแวดล้อมเสียก่อน สิ่งที่สําคัญในการติดต่อของโรค คือ สิ่งของเครื่องใช่ที่ปนเปื้อนเชื้อ เช่น เสื้อผ้า สิ่งปูรอง ถาดน้ํา ถาดอาหาร หรือกรงแมว นอกจากนี้อาจอาศัยพาหะจําพวกแมลงในการติดต่อของโรคด้วย


การป้องกัน

ป้องกันโดยการให้วัคซีนเข็มแรก ควรให้เมื่อแมวอายุ 8-9 สัปดาห์ และควรกระตุ้นซ้ํา ที่อายุ 12-20 สัปดาห์ จากนั้นฉีดกระตุ้นซ้ําทุกปี สําหรับการทําลายเชื้อที่ปนเปื้อนมากับสิ่งแวดล้อม เช่น ที่นอน ชามน้ําและ ชามอาหาร ควรทําความสะอาดด้วยน้ํายาฆ่าเชื้อ และในการนําแมวเข้ามาเลี้ยงใหม่ควรมีการกักโรคแมวก่อน นํามารวมฝูงเพื่อป้องกันการติดโรคทุกครั้ง


อ้างอิงข้อมูล

ฟ้าน่าน สุขสวัสดิ์. (2551). โรคติดเชื้อที่สําคัญในสุนัขและแมว, ขอนแก่น, โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา


บทความโดย

สพ.ญ.กิจตาภรณ์ แสงจันทร์ (หมอฟ้า)

คลินิกแมว ( CAT CLINIC )

โรงพยาบาลสัตว์ สัตวแพทย์ 4 (24 ชั่วโมง)
Tel : 02-953-8085
Line : http://line.me/ti/p/~@vet4
Website : www.vet4hospital.com
Map : https://goo.gl/maps/h5xR4waakFD2



ย้อนกลับ