ข่าวสาร

โรคกระดูกสะโพกเสื่อมในสุนัข ป้องกันได้ก่อนสาย

โรคกระดูกสะโพกเสื่อมในสุนัข หรือ Hip Dysplasia

    โรคข้อกระดูกสะโพกเสื่อม เป็นโรคเกี่ยวกับข้อกระดูกอีกชนิดหนึ่ง ที่นํามาซึ่งความทรมาน ของสัตว์ที่เป็นโรคนี้ และยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่มีวิธีที่สามารถป้องกันได้ ในปัจจุบันมีหน่วยงานที่ให้ความ สนใจน้อย แต่ก็เริ่มมีการเคลื่อนไหวในการวางแนวทางการป้องกันให้โรคนี้ระบาดน้อยลง และในบ้านเราผู้ที่มีความ เชี่ยวชาญในเรื่องนี้ก็มีน้อยมาก

    ความร้ายกาจของโรคข้อกระดูกสะโพกเสื่อมนี้ ขออธิบายให้ผู้เลี้ยงสุนัขมีความเข้าใจที่ถูกต้องดังนี้

ลักษณะของโรคข้อกระดูกสะโพกเสื่อม (Hip Dysplasia)

    โรคข้อกระดูกสะโพกเสี่ยมเกิดขึ้นที่ข้อสะโพกของขาหลังกับกระดูกเชิงกราน การเกิดโรคนี้เกิดจากการเจริญเติบโตของข้อกระดูกผิดปกติ โดยเฉพาะเมื่อมีอายุ มากขึ้น เมื่อข้อกระดูกเกิดการอักเสบ จะเกิดมีการงอกของกระดูกเพิ่มขึ้นทําให้ข้อกระดูกผิดรูป ทําให้ส่วนหัวของข้อกระดูกมีลักษณะขรุขระ ไม่กลมเรียบ และ กระดูกเชิงกรานที่เป็นที่ครอบผิวกระดูกก็จะแบนเทนที่จะโค้งครอบหัวข้อกระดูกทั้งหมด

    โดยธรรมชาติของข้อกระดูก บริเวณผิวรอบนอกจะเป็นกระดูกอ่อนเคลือบอยู่ทั้ง 2 ชั้น คือทั้งข้อกระดูกและกระดูกเชิงกราน เมื่อเกิดกระดูกอ่อนที่เคลือบลอกออกไป จะเหลือแต่กระดูกที่มีเส้นประสาทมากมาย ทําให้สุนัขเจ็บปวดมากขึ้นและพยายามที่จะไม่ใช้ขา เพราะยิ่งข้อกระดูกสามารถเคลื่อนที่ได้มากขึ้น และใช้ขาหลังมากขึ้นทําให้เกิดการอักเสบมากขึ้นตามมา


สาเหตุการเกิดโรคข้อสะโพกเสื่อม

    การเกิดโรคมีสาเหตุหลัก ๆ อยู่ 2 ประการ คือ

1. กรรมพันธุ์ของสุนัข

    กรรมพันธุ์ ในร่างกายของสิ่งมีชีวิตอาจจะมียืนอยู่ในโครโมโซมรวมทั้งมนุษย์ด้วย ลักษณะด้อยก็จะถ่ายทอดออก มาในยืนและแสดงออกทางร่างกาย การเกิดโรคข้อสะโพกเสื่อมปัจจุบันยังไม่รู้ว่าอยู่ในส่วนไหนของโครโมโซม แต่ที่แน่ใจ ว่าเกิดจากกรรมพันธุ์ เพราะพ่อ แม่พันธุ์ที่เป็นโรคข้อกระดูกสะโพกเสื่อม ลูกที่อออกมาจะเป็นโรคนี้ตามมาภายหลัง

2. สภาพแวดล้อมภายหลังจากการเลี้ยงดูสุนัข

    สภาพแวดล้อมภายหลังการเกิดของสุนัข คือเมื่อลูกสุนัขแรกเกิดยังมีข้อสะโพกปกติ มีการทดลองกันในต่างประเทศ โดยการนําลูกสุนัข ๒ ตัว ตัวแรกให้ อาหารแบบปกติ และตัวที่สองต้องการของสุนัข ตัวที่สองจะเกิดโรคข้อสะโพกเสื่อม สูงกว่าตัวแรก และเกิดโรคนี้มากที่สุด เนื่องจากลักษณะอาการของโรคนี้คือ การ เคลื่อนไหวของขาที่ผิดปกติทําให้ผู้เลี้ยงสุนัขเยอรมันเชพเพิร์ดกลัวกันมาก เพราะ สุนัขพันธุ์มีรูปร่างใหญ่ และส่วนใหญ่จะนํามาเป็นสุนัขใช้งานที่ต้องเคลื่อนไหวมาก ถ้าสุนัขเคลื่อนไหวได้น้อยก็จะเกิดปัญหาในการปฏิบัติงาน แต่ในสุนัขพันธุ์บูลด็อก เชาว์ เชาว์ นํามาเลี้ยงเป็นเพื่อน การเคลื่อนไหวถึงไม่มาก แต่มีโอกาสเกิดโรคนี้มากเช่นกัน แต่ก็ไม่เป็นที่สนใจเท่าไร เพราะในสุนัขขนาดกลางนี้น้ําหนักเขาจะเบา และเคลื่อนไหวน้อยทําให้สังเกตไม่เห็น แต่ ในพันธุ์ใหญ่เราเลี้ยงสุนัขเพื่อที่จะนําไปใช้งาน ทําให้สังเกตได้ง่าย

    ดังนั้นกล่าวได้ว่าโรคข้อกระดูกสะโพกห่าง ถ้าสุนัขมีน้ําหนักเบา การแสดงอาการเจ็บก็จะน้อย เพราะสามารถปรับตัวได้ ทําให้สามารถเดินได้ดูเหมือนปกติ

การวินิจฉัยและการตรวจโรคข้อสะโพกเสื่อม

    เมื่อลูกสุนัขเกิดมาข้อกระดูกจะปกติ แต่ถ้ามาเร่งการเจริญเติบโตด้วยอาหารมากเกินไป ก็สามารถโน้มนําการ เกิดโรคนี้ได้ ข้อสังเกตว่าสุนัขจะเกิดโรค หรือไม่ พิจารณาหลัก 2 ประการ ดังนี้

    ประการแรก ดูจากโครงสร้างของข้อกระดูก ว่าลักษณะโครงสร้างของหัวกระดูกจะกลมหรือไม่ ส่วนเบ้ากระดูก หุ้มหัวกระดูกมากน้อยเท่าใด ผิดปกติหรือไม่ เพราะสุนัขอายุที่ต่ำกว่า 6 ปีนี้ ก็สามารถแสดงอาการให้เห็นได้

    ประการที่สอง สังเกตพบความชิดของข้อกระดูกสะโพก ว่าห่างกันมากน้อยเพียงใด ปกติแล้วหัวกระดูกกับเบ้าที่ หุ้มจะต้องชิดกัน ถ้าเกิดห่างกันมาก หรือผิดปกติอาจจะบอกได้ว่าในอนาคตสุนัขตัวนี้อาจเป็นโรคข้อกระดูกสะโพกเสื่อม ได้ ในสุนัขที่มีอายุน้อย ๆ นั้น การแสดงอาการของโรคนี้จะเป็นการอักเสบของข้อกระดูกที่แตกออก หรือห่างกันมาก (Laxity) มีโอกาสเกิดการเสื่อมของข้อกระดูกได้มาก หรือที่ข้อกระดูกหลุดไปเลย (Laxation)

    สัตวแพทย์มีวิธีการตรวจเพื่อวินิจฉัยโรคนี้ได้ โดยการใช้แรงบิด หรือต้นเพื่อจะดูว่าข้อกระดูกเคลื่อนได้แค่ไหน ปกติข้อกระดูกจะแน่นถ้าใช้แรงดัน และอีกวิธีคือการ X-ray เพื่อดูว่าข้อกระดูกมีการแตกหรือเปล่า แต่ถ้ามีความห่างมาก ก็วินิจฉัยว่าเกิดอาการของโรคข้อกระดูกสะโพกเสื่อมได้ในอนาคต พร้อมทั้งดูประวัติของพ่อแม่ประกอบด้วย ผู้เลี้ยงสามารถสังเกตได้ตั้งแต่สุนัขยังมีอายุไม่ถึงปี ปกติลูกสุนัขจะมีอุปนิสัยซุกซน ชอบเล่น ถ้าสังเกตเห็นว่าลูกสุนัขวิ่ง ๆ อยู่แล้วนั่งสลับกันไปเช่นนี้บ่อย ๆ ครั้งหรือไม่ค่อยเคลื่อนไหวผิดธรรมชาติของลูกสุนัข ก็อาจสันนิษฐานได้ว่าอาจมีอาการ อักเสบของข้อกระดูก ซึ่งเป็นอาการขั้นแรกของโรคนี้ เมื่อมีอายุมากขึ้นความเจ็บของการอักเสบ ก็จะบรรเทาลง เพราะมี การเสริมสร้างส่วนที่สึกหรอ คือเมื่อข้อกระดูกห่างหรือมีรอยแตกของกระดูก ก็จะมีการสร้างกระดูกอ่อนที่เคลือบอยู่ อย่างเช่น ปกติมีความหนา ๑ ซม. ก็อาจเพิ่มเป็น ๒ ซม. ทําให้ความห่างนั้นกระฉับ และดึงขึ้นสุนัขก็จะใช้ขาได้เหมือนเดิม และชินกับความเจ็บปวดก็จะเป็นการอักเสบเรื้อรัง เมื่ออายุมากขึ้นข้อกระดูกก็จะงอกจนผิดรูปไป หรือในสุนัขบางตัวเมื่อ มีอาการของโรคนี้ และใช้งานขาหลังน้อยเพราะมีอาการเจ็บปวด ก็จะใช้ขาหน้าแทนจะมีลักษณะของกล้ามเนื้อที่ไหล่ และ ขาหน้าใหญ่มาก ผู้เลี้ยงก็สมารถสังเกตเห็นได้การป้องกันและการรักษาโรคข้อกระดูกสะโพกเสื่อม

    โรคข้อกระดูกสะโพกเสื่อม (Hip Dysplasia) ไม่ใช้โรคที่แสดงอาการรวดเร็วเช่นโรคอื่นๆ แต่จะกินระยะเวลานาน การแสดงอาการมีหลายขั้น และสาเหตุเกิดจากกรรมพันธุ์ และการเลี้ยงดู ในการป้องกันในต่างประเทศ คอก ฟาร์มต่าง ๆ ก็จะผสมพันธุ์สุนัขด้วยพ่อ-แม่พันธุ์ที่ปราศจากโรคข้อกระดูกโดยจะมีกฎระเบียบของแต่ละประเทศ ป้องกันในเรื่องนี้ แต่ยังไม่มีประเทศไหนที่สามารถควบคุมได้ ๑๐๐% เพราะยังไม่สามารถควบคุม หรือบ่งบอกได้ว่ายีนที่มี ลักษณะด้อย ที่ทําให้เกิดโรคนี้อยู่ที่ส่วนไหนของโครโมโซม เนื่องจากลักษณะภายนอกจาจจะปกติ แต่ในยืนอาจมีลักษณะ ของโรคนี้อยู่ เมื่อนําไปผสมพันธุ์ถ้ายืนต้อยมาเจอกัน ก็จะทําให้ลูกที่เป็นโรคข้อกระดูกสะโพกเสื่อมเกิดขึ้น ในต่างประเทศจะมีการป้องกันการแพร่ของโรคนี้ โดยการ x-ray สุนัขที่มีอายุ ๑ ปี โดยละเอียดแต่บางประเทศกําลังขยาย ให้มีการ x-ray สุนัขอายุ ๒ ปีก่อนการผสมพันธุ์ และออกใบรับรอง ผู้เลี้ยงสามารถป้องกันได้โดยการให้อาหารตามสัดส่วน ที่ถูกต้อง และสมดุลย์โดยไม่เร่งการเจริญเติบโตของกระดูกเร็วเกินไป ทําให้ตัวสุนัขลดอัตราเสี่ยงการเกิดของโรคน้อยลง

    การรักษาโรคข้อกระดูกสะโพกเสื่อม มีหลายวิธี แต่ก็ไม่ช่วยให้หายขาด เช่น การผ่าตัดหัวกระดูก ช่วยลดการเจ็บ ปวด พร้อมทั้งใช้ยาลดอักเสบ หรือการว่ายน้ํา ( ธาราบําบัด) เพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อพยุงกระดูก ในต่างประเทศมีการเปลี่ยนหัวกระดูกสะโพก (Total hip replacement) มีราคาสูงมาก บางรายอาจจะฉีดยาทําให้หลับไป แต่ในบ้านเราคง ทําได้ลําบาก แม้จะมีความเจ็บปวดมาก และการไม่เคลื่อนไหว อาจจะเกิดแผลกดทับได้อีกด้วย


Vet 4 Animal Hospital

คลินิกกระดูกและข้อ สาขา ประชานิเวศน์

Call: 02-953-8085-6

Line: http://line.me/ti/p/~@vet4

Location: https://g.page/vet4hospital?share


Vet 4 Animal Hospital

คลินิกกระดูกและข้อ สาขา สุขุมวิท

Vet 4 Orthopedic Clinic (Sukhumvit 33)

Call: 02-119-4571 

Line: https://lin.ee/R5AvaTx

Location: https://g.page/vet4_suk33?share

ย้อนกลับ